ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
โรงเรียนวาวีวิทยาคม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายรหัสไปรษณีย์ 57180 โทรศัพท์ 0-53760029 website http://www.waweewit.ac.th email : waweeadmin@gmail.com โรงเรียนวาวีวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 (เชียงราย-พะเยา) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 290 หมู่ที่ 1 ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ 45 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา ได้เปิดให้มีการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2533 โดยใช้ห้องเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาบ้านวาวีและสำนักงานกลุ่มหนุ่มสาวบ้านวาวีจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากชุมชนในพื้นที่ตำบลวาวีที่เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา มอบที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบันให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนตั้งชื่อว่า ” โรงเรียนแม่สรวยวิทยาคม (สาขา ) “โดยมี นายปรีชา พัวนุกูลนนท์ เป็นผู้บริหารโดยจัดส่งนายณรงค์ฤทธิ์ กลิ่นสอน นายประเสริฐ ไชยมหาวรรณ นายเมธี วงค์ครุฑ และนายมานพ สุขพิงค์ ผลัดเปลี่ยนกันมาบริหารงานต่อมาเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ชื่อว่า “ โรงเรียนวาวีวิทยาคม” เป็นโรงเรียนแบบสหศึกษา เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และแต่งตั้ง นายสมเจตน์ รัตนสุวรรณ รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน วันที่ 1 ตุลาคม 2535 กรมสามัญศึกษาแต่งตั้ง นายเกษม หมื่นตาบุตร มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนวาวีวิทยาคม ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2537 กรมสามัญศึกษาอนุมัติการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งข้าราชการครู ให้เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวาวีวิทยาคม และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนวาวีวิทยาคม ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2540 กรมสามัญศึกษาได้จัดส่งนางสาวนิธิยา วัฒนะปราน มาดำรงตำแน่งอาจารย์ใหญ่ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2544 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้นางณาตยา มานะ รักษาการอาจารย์ใหญ่ วันที่ 16 มีนาคม 2544 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนางช่อฟ้า ม่วงมณี มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ วันที่ 7 พฤษภาคม 2545 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายวิเชียร ทาทอง มาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2546 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายทีปชัย วงศ์วรศรีโรจน์ มาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ วันที่ 8 ธันวาคม 2546 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนางสมัย ลาเกลี้ยง มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ วันที่ 20 มิถุนายน 2548 นายประดิษฐ์ โพธิกลาง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวาวีวิทยาคม ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2551 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคำสั่งแต่งตั้งนายสมิทธ์ ปุตตะลอ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวาวีวิทยาคม และเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2554 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคำสั่งแต่งตั้ง นายเอนก ตาคำ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวาวีวิทยาคม ในปี 2554 – 2557 ต่อมา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคำสั่งแต่งตั้งนางณัชชาพัชร์ พันธุ์นิติภูมิ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวาวีวิทยาคม ในปี 2557-2561 และ ต่อมาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้แต่งตั้งให้ ดร.ชูชาติ วิศิษฏ์ลานนท์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวาวีวิทยาคม ในปี 2561 – 2565
ปัจจุบัน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้แต่งตั้งให้นายธงชาติ ภู่สุวรรณ ดำรงรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนวาวีวิทยาคม
ปรัชญาของโรงเรียน
สุสสูสา สุตวัฒฑณี
การใฝ่ใจศึกษา เป็นเครื่องพัฒนาความรู้
คำขวัญ
เรียนดี มีคุณธรรม นำกีฬา พัฒนาสังคม
สีประจำโรงเรียน
ชมพู – ม่วง
สีชมพู หมายถึง ความอ่อนหวาน ความสุภาพ ความมีคุณธรรม จริยธรรม มีสัมมาคารวะ
รู้กตัญญูกตเวที และมี ความเมตตากรุณา
สีม่วง หมายถึง ความเป็นอมตะ ความคงทนถาวร ของความรู้ที่ติดตัวผู้ใฝ่การศึกษา
สัญลักษณ์
ความหมายของสัญลักษณ์
ภูเขา หมายถึง สถานที่ตั้งของโรงเรียน ที่ตั้งอยู่บนภูเขาสูง มีความร่มรื่น มีความ
ซับซ้อนและหลากอารยธรรม
ดวงอาทิตย์ หมายถึง แสงสว่างของความรู้ที่ฉายแสงให้ภูเขาเพิ่มความตระหง่านมี
เอกภาพขณะเดียวกันแสงสว่างก็ขับไล่ความมืดของอวิชาให้หมดไป
หนังสือ หมายถึง ความรู้และวิทยาการที่จะนำความสว่างมาสู่บนดอย
ใบชา หมายถึง พืชเศรษฐกิจที่จะนำมาซึ่งรายได้และชื่อเสียงของคนวาวี
วิสัยทัศน์
ส่งเสริมภาษา มุ่งพัฒนาผู้เรียน เพียรสร้างคุณธรรมจริยธรรม
น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างชื่อเสียงด้วยวัฒนธรรม นำสู่มาตรฐานสากล
อัตลักษณ์
สืบสานวัฒนธรรม ชาติพันธ์กลมเกลียว
เอกลักษณ์ เลิศล้ำภาษาจีน
พันธกิจ
- ส่งเสริมการใช้ภาษาจีนและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร
- ส่งเสริมผู้เรียนด้านทักษะชีวิต คุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
- ส่งเสริมครูในการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- พัฒนาแหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม การบริการในทุกด้านอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง
- ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากล
เป้าประสงค์
- นักเรียนใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างชัดเจนและใช้ภาษาจีนได้ในระดับมาตรฐานสากล
- นักเรียนมีทักษะชีวิตและมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
- นักเรียนมีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยึดมั่นศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย ร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ตามศักยภาพ
- ครูทุกคนมีคุณธรรมจริยธรรม ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- โรงเรียนมีการพัฒนาด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
- โรงเรียนมีระบบข้อมูลสารสนเทศ และการบริหารงานที่สอดคล้องกับการควบคุมภายในและการประกันคุณภาพการศึกษา
- โรงเรียนมีหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและมีการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเข้าสู่มาตรฐานสากล